หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Information t5 School

 การศึกษาของกลุ่มโรงเรียนเทศบาลในเขตเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี แต่เดิมนั้นมีเพียงระดับประถมศึกษาตอนต้นเท่านั้น เริ่มเปิดเรียนชั้นประถมศึกษาตอนปลายเป็นครั้งแรก  ที่โรงเรียนเทศบาล ๓ (ตลาดล่าง)เมื่อจำนวนนักเรียนเพิ่มมากขึ้น เกิดปัญหาอาคารเรียนไม่เพียงพอ ไม่มีโรงฝึกงาน สถานที่คับแคบ ทางเทศบาลจึงแยกระดับประถมศึกษาตอนปลายมาตั้งใหม่ที่ข้างสำนักงานเทศบาล โดยดัดแปลงโรงเก็บรถเป็นห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5–6 เพื่อรอ   อาคารเรียนแบบ 019 ที่จะสร้างเสร็จ ส่วนครูที่สอนชั้นประถมศึกษาตอนปลายได้แยกมาจาก กลุ่มโรงเรียนเทศบาล จำนวน 4 ท่าน คือ
1.      นางบรรณา โชติสุวรรณ จากโรงเรียนเทศบาล ๑ (ถนนตลาดใหม่)
ทำหน้าที่รักษาการแทนครูใหญ่
2.      นางสาวพิมพ์ประไพ รัตนสุวรรณ จากโรงเรียนเทศบาล ๒ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)
เป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก
3.      นางอิงอร ทรัพย์มณี จากโรงเรียนเทศบาล ๓ (ตลาดล่าง)
เป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ข
4.      นายสมนึก ผดุงวงศ์ จากโรงเรียนเทศบาล ๓ (ตลาดล่าง)
เป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้บริหารโรงเรียนเทศบาล ๕ ตั้งแต่เริ่มต้นถึงปัจจุบัน ประกอบด้วย
                1.    นางบรรณา โชติสุวรรณ          พ.ศ. 2507 – 2511
                2.    นายสมบูรณ์ ตะปินา                 พ.ศ. 2511 – 2517
                3.    นางสายใจ คุ้มไทย                   พ.ศ. 2517 – 2541
                4.    นายศักดา รัตนมุสิก                   พ.ศ. 2541 – ปัจจุบัน
            
                 ในปี พ.ศ. 2530 ทางเทศบาลได้ย้ายโรงเรียนเทศบาล ๕  มาอยู่ที่โรงเรียนอินทรพิชัย ถนนดอนนก เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2530 เปิดทำการสอนชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6  มีจำนวน 28 ห้องเรียน และในปี พ.ศ. 2538 โรงเรียนเทศบาล ๕ ได้รับอนุมัติให้เปิดโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 ระดับละ 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละไม่เกิน 40 คน
               วันที่ 16 กรกฎาคม 2541 นางสายใจ คุ้มไทย ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล ๕ ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) นายศักดา รัตนมุสิก ผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาล ๕

ปี พ.ศ. 2541 - 2545

               โรงเรียนได้รับงบประมาณและการบริจาคเพื่อปรับปรุงสภาพสิ่งแวดล้อมและอาคารเรียน ดังนี้
                -  ปรับปรุงสนาม ทำถนน และรั้วภายในโรงเรียน
                -  สร้างอาคารเรียน 4 ชั้น 12 ห้องเรียน ใต้ถุนโล่ง เป็นอาคารเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
                -  สร้างอาคารอเนกประสงค์ 1 หลัง
                -  ปรับปรุงชั้นล่างของอาคารพิกุลกรองเป็นห้องสมุดและห้องประชุม

ปี พ.ศ. 2543

                โรงเรียนเทศบาล ๕ ได้รับอนุมัติให้เปิดโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 - 6  ระดับละ 2 ห้องเรียน โดยเริ่มเปิดสอนตั้งแต่ปีการศึกษา 2543 เป็นต้นมา

ปีการศึกษา 2547

                โรงเรียนเทศบาล ๕ ได้โรงเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน ระดับประถมศึกษา

ปีการศึกษา 2549

                ได้รับบริจาค จัดห้อง IT SCHOOL โครงการ TOT IT SCHOOL จากบริษัททีโอที จำกัด(มหาชน)
ในงบประมาณ 1,000,000 บาท
ปีการศึกษา 2549

                 ได้รับคัดเลือกจากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ให้เป็นโรงเรียนต้นแบบด้าน IT ของโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับงบประมาณ 1,000,000 บาท มาพัฒนาด้าน IT และศิลปะ-ดนตรี
             
ปีการศึกษา 2550

                 จัดสร้างอาคารธรรมาภิบาลและอาคารลูกรัก
 อาคารธรรมาภิบาล เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2549-2550 ด้วยงบประมาณประจำปีของเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี จากเงินรางวัลการประกวดธรรมาภิบาล 8,000,000 บาท ชั้นล่างจัดเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่ ให้บริการนักเรียนตั้งแต่ชั้นอนุบาล-มัธยมศึกษา ใช้ชื่อว่า “ห้องสมุดอินทรพิชัย”ชั้นบนจัดเป็นห้องประชุมและห้องจัดเลี้ยง ใช้ชื่อว่า “ห้องประชุมสุวรรณกูล”
อาคารลูกรัก เป็นอาคาร 2 ชั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2550 ด้วยเงินบริจาคของ คุณแม่อนงค์ สุวรรณกูล จำนวน 2,000,000 บาท โรงเรียนจัดสร้างตามราคาประมูล จำนวน 1,8000,000 บาท ชั้นล่าง จัดเป็นศูนย์การเรียนรู้เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีทั้งภาพ วีซีดี หนังสือและอินเทอร์เน็ต ที่สามารถค้นคว้าได้อย่างชัดเจน และสถานที่สำหรับผู้ปกครองพบนักเรียนระหว่างการเรียนการสอน ชั้นบน จัดเป็นเรือนพยาบาลสำหรับให้บริการนักเรียนกรณีเจ็บป่วย โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด เหลือเงินอีก 200,000 บาท จัดทำป้ายโรงเรียน เป็นเงิน 135,000 บาท และจัดทำหลังคาจอดรถของครู เป็นเงิน 65,000 บาท

ปีการศึกษา 2552
ได้ขยายห้องเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็น 3 ห้องเรียน โดยแบ่งเป็นสายวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จำนวน 1 ห้องเรียน และสายคณิตศาสตร์-ภาษาอังกฤษ จำนวน 2 ห้องเรียน

ปีการศึกษา 2553

                ได้ย้ายห้อง IT SCHOOL ไปไว้ที่อาคารลูกรัก และย้ายห้องเรียนคอมพิวเตอร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มาไว้ที่ห้อง IT SCHOOL เดิม เพราะจำนวนห้องเรียนไม่เพียงพอ

ปีการศึกษา 2554

                โรงเรียนเทศบาล ๕ ได้โรงเรียนดีเด่นรางวัลพระราชทาน ระดับมัธยมศึกษาขนาดกลาง
              
                ปัจจุบันโรงเรียนเทศบาล ๕  มีผู้บริหารและพนักงานครู 83  คน  พนักงานจ้างตามภารกิจ 27 คน  พนักงานจ้างทั่วไป 11 คน เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลจนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6    มีจำนวนห้องเรียนทั้งหมด 54 ห้องเรียน จำนวน      นักเรียนทั้งหมด 2,293 คน
             
ผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย
                             
                1. นายศักดา        รัตนมุสิก             ผู้อำนวยการเชี่ยวชาญ
2. นางวนิดา        รุ่งแดง                รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
3. นางธนัชพร     โอวรารินท์          รองผู้อำนวยการชำนาญการ
4. นางวรรณี        นนทวิโรฒ          รองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ
5. นายรณชัย        เรืองรักษ์             รองผู้อำนวยการชำนาญการ

อ้างอิง

Information t3 Suratthani

โรงเรียนเทศบาล ๓ (ตลาดล่าง) เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานีจัดสร้างขึ้นด้วยงบประมาณของเทศบาล ในปลายปี พ.ศ.2498ในสมัยของคณะเทศมนตรีอันมี หลวงอนุวัฒตรกรณี เป็นนายกเทศมนตรี นายยศ รักษาพราหมณ์ และนายสนิท ทองเผือก เป็นเทศมตรีได้พิจารณาเห็นว่าโรงเรียนเทศบาล1(แตงอ่อนเผดิมวิทยา) และโรงเรียนเทศบาล 2 (ถนนตลาดใหม่) มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว  ทำให้การบริหารทางการศึกษาไม่เพียงพอ ทั้งนักเรียนที่อาศัยอยู่บริเวณตลาดล่างต้องเดินทางมาเรียนไกล ไม่สะดวกปลอดภัย ในการเดินทาง และอาจเกิดอันตรายบนท้องถนนอีกด้วย จึงได้ประชุมพิจารณาให้ตั้งงบประมาณสร้างโรงเรียน  ๓  (ตลาดล่าง) ด้วยงบประมาณ  ปี 2499  เป็นจำนวนเงิน  50,000 บาท ในปี   พ.ศ. 2500 ใช้งบประมาณของเทศบาลอีก  50,000  บาท  รวมเป็นเงินลงทุนทั้งสิ้น  100,000  บาท    บนเนื้อที่  2  ไร่  2  งาน  40  ตารางวา  ได้ดำเนินการก่อสร้างมาเป็นลำดับ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2501 ทางจังหวัดได้ร่วมมือกับเทศบาลปราบพื้นที่รอบ ๆ บริเวณอาคารเรียน และเทศบาลเริ่มสร้างถนนรอบ ๆ บริเวณโรงเรียน เมื่อปลายเดือนมีนาคม 2501 ซึ่งยังไม่เสร็จเรียบร้อยแต่พอใช้การได้ โรงเรียนเทศบาล ๓  (ตลาดล่าง)  ปลูกในเนื้อที่ศาลเจ้าไหหลำ ซึ่งตกลงให้เทศบาลปลูกสร้างอาคารเรียน โดยจัดสร้างเป็นอาคารไม้ชั้นเดียว แบบ 103 ของกระทรวงศึกษาธิการ หลังคามุงกระเบื้อง ขนาดกว้าง  8.00  เมตร ยาว 20.00 เมตร แบ่งเป็น 4 ห้องเรียน ห้องพักครู 1 ห้อง ห้องส้วม 3 ที่สามารถรับนักเรียนได้จำนวน  200  คน
           การก่อสร้างโรงเรียนยังไม่สำเร็จตามโครงการเพราะงบประมาณมีไม่พอเทศบาลจึงจำเป็นต้องค่อยทำค่อยไปตามกำลังงบประมาณของแต่ละปีโรงเรียนเทศบาล ๓ (ตลาดล่าง) เปิดเรียน วันที่ 1  พฤษภาคม 2501 รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 มีครูทำการสอน 4คนปัจจุบันโรงเรียนเทศบาล ๓ (ตลาดล่าง)ตั้งอยู่ที่โรงเรียนเทศบาล ๓ ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานีจังหวัดสุราษฎร์ธานี  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เปิดทำการสอนตั้งแต่อนุบาลถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่  3  

อ้างอิง

Information T1 Suratthani


ประวัติและความเป็นมา                โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) ตั้งอยู่ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด เภอเมืองสุราษฎร์ธานี   จังหวัดสุราษฎร์ธานี   มีประวัติพอสังเขป ดังต่อไปนี้
                พ.ศ. 2467   อำมาตย์เอกหลวงสุราษฎร์สารภิรมย์ นายอำเภอบ้านดอนก่อตั้งโรงเรียนตำบล ตลาดขึ้นโดยใช้อุโบสถ  " วัดไทร "  ตำบลตลาด
เป็นที่เล่าเรียน
                พ.ศ. 2467   ย้ายมาอาศัยเรียนที่ศาลาการเปรียญ " วัดไตรธรรมาราม "
                พ.ศ. 2474   ย้ายจากวัดไตรธรรมารามอาศัยเรียนอาคารชั้นล่างของโรงเรียนสุราษฎร์ธานี (เดิม)  ปัจจุบันเป็นโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา                พ.ศ. 2478    เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนเทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี
                พ.ศ. 2481    นางแตงอ่อน จิวโฮฮวด , นางเอ้ง สุวรรณกูล  อุทิศสร้างโรงเรียนมอบให้ เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี ชื่อโรงเรียนเทศบาล ๑
(แตงอ่อนเผดิมวิทยา) โดยมี ครูใหญ่ประจำต่างหาก
                พ.ศ. 2485    เทศบาลสร้างโรงเรียนใหม่หนึ่งหลังชื่อโรงเรียน เทศบาล ๑(ถนนตลาดใหม่)  ย้ายนักเรียนที่อาศัยเรียนอยู่ที่โรงเรียนสุราษฎร์ธานีมาเรียน ณ โรงเรียนใหม่                พ.ศ. 2518  รวมกับโรงเรียนเทศบาล ๒ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) กับโรงเรียนเทศบาล ๑  (ถนนตลาดใหม่) เข้าด้วยกัน ชื่อโรงเรียนเทศบาล ๑  (แตงอ่อนเผดิมวิทยา) จนถึงปัจจุบันนี้
                พ.ศ. 2528  สร้างอาคารเรียนใหม่แบบ  ค.ส.ล. มี 3 ชั้น 9 ห้อง ชั้นสอง และชั้นสามเป็นห้องเรียนชั้นล่างเป็นห้องพิมพ์ดีดและคอมพิวเตอร์ ห้องอาจารย์ใหญ่ ห้องธุรการ ชื่ออาคาร ๔นภาจรัส
                พ.ศ. 2532  สร้างอาคารโรงประกอบอาหาร 1 หลัง
                พ.ศ. 2534  เทพื้นคอนกรีตบริเวณอาคารทั้งสองด้านจัดทำที่ตั้งพระพุทธรูปบูชาประจำโรงเรียนจัดทำสนามเด็กเล่นเพื่อบริการนักเรียนและชุมชน
                พ.ศ. 2535  นางสุนิสา วงศ์เจริญ เทศมนตรีฝ่ายการศึกษา บริจาคเงินร่วมกับงบประมาณ เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี จัดสร้างอาคาร 1 หลัง ชื่ออาคาร ๕ ฉัตรสุดา แบบ ค.ส.ล. 4 ชั้น
                          -  ชั้นล่างต่อเป็นห้องสมุด
                          -  ชั้น 2 และชั้น 3 เป็นห้องเรียน ม.1 และ ม.2 จำนวน 4 ห้องเรียน
                          -  ชั้น 4 เป็นดาดฟ้ามุงหลังคาสำหรับเป็นห้องพิมพ์ดีดและห้องพัสดุ
               พ.ศ. 2537  เทศบาลได้ให้งบประมาณสร้างอาคารเรียนต่อกับอาคาร ๕ ฉัตรสุดา แบบ ค.ส.ล. 4 ชั้น
                          -  ชั้นล่างต่อเป็นห้องประชุมและกั้นเป็นห้องดนตรี ห้องศิลปศึกษาห้องสวัสดิการ   ห้องพลศึกษา ห้องพยาบาล                           -  ชั้น 2 เป็นห้องเรียน ม.3 และห้องพักครู
                          -  ชั้น 3 เป็นห้องคอมพิวเตอร์ ห้องซาวด์เล็ป ห้องพักครู
                          -  ชั้น 4 เป็นห้องดนตรีไทย ห้องวิทยาศาสตร์ ห้องพักครู/แนะแนว                พ.ศ. 2538 เทศบาลสร้างห้องน้ำห้องส้วมฝั่งอาคารมัธยมแทนของเดิมได้ปรับปรุงห้องสมุดของชั้นล่างใต้อาคาร 5 (ฉัตรสุดา)
                พ.ศ. 2539  เทศบาลให้งบประมาณสร้างอัลลอยด์ทั้งสองบริเวณ
                พ.ศ. 2545 เทศบาลให้งบประมาณสร้างห้องพักครู 2 ชั้น
                พ.ศ. 2546 เทศบาลให้งบประมาณสร้างส้วมซึมชั้นเดียว 26 ที่นั่ง
                พ.ศ. 2547 ปรับปรุงรั้วโรงเรียนหลังอาคารฉัตรสุดา  และเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาอาคาร ร่มไทร เลิศปัญญา ชัยพฤกษ์   ซ่อมแซมห้องพักครู
                 พ.ศ. 2548   -   ปัจจุบันในปีการศึกษา  2550  โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  เปิดสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล ๑ จนถึง   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓   มีนักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,274   คน    ผู้อำนวยการสถานศึกษา  1  คน    รองผู้อำนวยการสถานศึกษา  3  คน    ครูปฏิบัติการสอน  67  คน   ครูจ้าง จำนวน  3 คน    เจ้าหน้าที่ห้องสมุด จำนวน  1  คน      นักการภารโรง จำนวน   3  คน      พนักงานขับรถ จำนวน 1 คน     แม่ครัว จำนวน   6  คน   ครูสอนภาษาจีนจำนวน  4  คน  ครูสอนภาษาอังกฤษ จำนวน  2  คน   จำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น  32  ห้องเรียน    โดยมี นายสุเวช รุ่งแดง
เป็นผู้อำนวยการสถานศึกษา   นางสิริสมบูรณ์ สหนิบุตร   นายฐมพงษ์   ชนะกุล  และนางสาวสิริมา   งามศุภกร  เป็นรองผู้อำนวยการสถานศึกษา
 ที่ตั้งของโรงเรียน
               โรงเรียนเทศบาล ๑ (แตงอ่อนเผดิมวิทยา)  ตั้งอยู่ที่ถนนตลาดใหม่  หลังตลาดสด เทศบาลเมืองสุราษฎร์ธานี  ด้านหน้าติดถนนตลาดใหม่  ด้านขวาจดถนนตลาดใหม่  ซอย  25  และโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา  ด้านซ้ายจดถนนตลาดใหม่  ซอย  23  อาคารพาณิชย์  ด้านหลังจดบ้านพักของราษฎร  และมีการสร้างอาคารพาณิชย์คั่นกลาง  ทำให้มีบริเวณโรงเรียนแบ่งเป็น 2  ส่วน  ระหว่างอาคาร 1,3,4  กับ อาคาร  2  ซึ่งเป็นปัญหาในการปรับปรุงโรงเรียนพอสมควร เนื้อที่โรงเรียน  1 ไร่  3  งาน  84  ตารางวา  อาคารเรียน/อาคารประกอบ
          1.   อาคาร  1  ร่มไทร  ประกอบด้วย  เรือนพยาบาล,  ห้องเรียนชั้น   ป. 3,   ห้องเรียนชั้นอนุบาล  1-2
          2.   อาคาร  2   ชัยพฤกษ์  ประกอบด้วย  ห้องเรียนชั้นป.6,  ห้องเรียนชั้น ป.5,  ห้องพักครู
          3.   อาคาร  3   เลิศปัญญา  ประกอบด้วย ห้องเรียนชั้น ป.1  ห้องเรียนชั้น ป.2 ห้องคอมพิวเตอร์  ห้อง SOUND  LAB
          4.     อาคาร     4   นภาจรัส  ประกอบด้วย  ห้องเรียนชั้น ป.4 ,  ห้อง INTERNET ,   ห้อง นาฎศิลป์,  ห้องธุรการ,  ห้องผู้อำนวยการ, ห้องโสตทัศนศึกษา,ห้องประชุม
          5.     อาคาร  5  ฉัตรสุดา  ประกอบด้วย  ห้องสมุด,  ห้องเรียนระดับมัธยม, ห้องพักครู, ห้องเก็บของ, ห้องแนะแนว,  ห้องจริยธรรม, ห้องดนตรีไทย, ห้องวิทยาศาสตร์

อ้างอิง

Information Thidamaepra School


อ้างอิง : โรงเรียนธิดาแม่พระ

โรงเรียนธิดาแม่พระ เป็นโรงเรียนคาทอลิกสังกัดอยู่ในสังฆมณฑลสุราษฎร์ธานี ตั้งอยู่ ณ บ้านเลขที่ 317/19 ถนนหน้าเมือง ตำบลตลาด อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี บนเนื้อที่ 12 ไร่ 1 ตารางวา จัดตั้งขึ้นโดย ฯพลฯ เปโตร คาเร็ตโต อดีตประมุขสังฆมลฑลสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2506 ใบอนุญาตเลขที่ 3/2506คณะซิสเตอร์ ผู้รับใช้ดวงหทัยนิรมลของพระแม่มารีย์ได้รับมอบหมายจาก ฯพณฯ เปโตร คาเร็ตโต ให้เป็นผู้ดำเนินกิจการ ปีแรกที่เริ่มดำเนินกิจการนั้น มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพียง 26 คน โดยมีนางสาวราตรี โลกะวิทย์ รับตำแหน่งครูใหญ่ และนางสาวส้มลิ้ม เล็งพ่วง รับตำแหน่งผู้จัดการ ได้มีการขยาย
ชั้นเรียนเพิ่มปีละ 1 ชั้น ระดับประถมมีชั้นเรียน มีชั้นเรียนครบชั้นในปีการศึกษา 2510 และโรงเรียนได้มีการขยายและปรับปรุงกิจการต่าง ๆ เรื่อยมาโดย

     ปีการศึกษา 2511
     ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยเปิดรับนักเรียนชั้น ม.ศ.1 เพียงชั้นเดียวก่อน ต่อจากนั้นได้ขอขยายชั้นเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มปีละชั้น มีชั้นเรียนครบชั้นในปีการศึกษา 2513

     ปีการศึกษา 2516
     ได้ขออนุญาตขยายชั้นเรียนระดับอนุบาลศึกษาหลักสูตร 2 ปี

     ปีการศึกษา 2517
โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลโดยได้รับเงินอุดหนุนช่วยเหลือตามอัตราส่วนวุฒิของครู

     ปีการศึกษา 2518
     ได้รับยื่นคำร้องขอรับรองวิทยะฐาน โรงเรียนราษฎร์เทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล ได้รับใบประกาศรับรองวิทยะฐานโรงเรียนและทำฉลองการรับรองวิทยะฐานในปีการศึกษา 2519

     ปีการศึกษา 2526
     โรงเรียนธิดาแม่พระได้โอนกิจการโรงเรียนจากประเภทบุคคลให้เป็นนิติบุคคล คือ มูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานี และได้รับมอบอำนาจให้นางสาวดรุณี ศรีมงคล เป็นผู้ลงนามแทน

     ปีการศึกษา 2531
     ได้ขอเปลี่ยนแปลงการรับนักเรียนระดับชั้นอนุบาล จากหลักสูตร 2 ปี เป็นอนุบาลหลักสูตร 3 ปี และเริ่มรับนักเรียนตั้งแต่อายุ 3 ปีบริบูรณ์และปรับเปลี่ยนการสอนใช้หลักสูตรอนุบาลที่เน้นการสอนแบบบูรณาการ

     ปีการศึกษา 2538
     โรงเรียนได้เริ่มเปิดรับนักเรียนชายเข้าเป็นสหศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา โดยในปีแรกรับเป็นสหศึกษาในระดับชั้น ป.1 เพียงชั้นเดียว แล้วจึงขยายเพิ่มไปเป็นปีละ 1 ชั้น จนจบชั้นป.6 ในปี พ.ศ. 2543

     ปีการศึกษา 2543
     โรงเรียนได้พัฒนาระบบการบริหารโรงเรียนให้มีคุณภาพ โดยมีการกระจายอำนาจการบริหาร ออกเป็น 5 ฝ่าย คือฝ่ายวิชาการ ฝ่ายกิจการนักเรียน ฝ่ายบุคลากร ฝ่ายอาคารสถานที่ และฝ่ายธุรการ-การเงิน และกระจายอำนาจการบริหารไปให้ผู้ช่วยครูใหญ่ฝ่ายต่าง ๆ มีส่วนร่วมรับผิดชอบและจัดการ

     ปีการศึกษา 2545
     โรงเรียนได้เข้าร่วมเป็นโรงเรียนเครือข่ายการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544 โดยได้จัดให้ครูได้รับการอบรมให้มีความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรขั้นพื้นฐานและได้ร่วมกันเขียนหลักสูตรสถานศึกษา เพื่อสามารถนำหลักสูตรนั้นมาใช้ในระดับชั้น ป.1 , ป. 4 , และ ม.1 ส่วนชั้นอื่น ยังคงใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2521 (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2533)

     ปีการศึกษา 2547
     โรงเรียนได้ส่งรายงานประเมินตนเอง เพื่อขอรับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ทาง สมศ. ได้จัดสรรให้บริษัท เคมี การประเมิน จำกัด มาประเมินโรงเรียน

Information Teerasom Surat


ปัจจุบันเปิดสอนระดับชั้นเตรียมอนุบาล ,อนุบาล ๑-๓ ประถมปีที่ ๑-๖ และมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ตั้งอยู่เลขที่ ๗๔/๑ ถนนศรีวิชัย ตำบลมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี โทรศัพท์ ๐-๗๗๒๗-๓๒๖๐, ๐-๗๗๒๖-๔๔๗๑ โทรสาร ๐-๗๗๒๗-๓๒๖๐ ได้รับอนุญาตจัดตั้งเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ ผู้รับใบอนุญาต นางยินดี สุขสด ผู้อำนวยการนางกุลวดี อุทัยเฉลิม ปัจจุบันมีนักเรียน ๘๒๕ คน ครู ๕๓ คน นักการ ๑๐ คน
โรงเรียนธีราศรมสุราษฏร์ เดิมคือโรงเรียนอนุบาลนลินี มีนางสายพิน บุญชูช่วย เป็นผู้รับใบอนุญาตต่อมาเมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๔๕ ได้โอนกิจการมาเป็นของ นางยินดี สุขสด และเมื่อวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๔๖ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนธีราศรมสุราษฏร์
    โรงเรียนธีราศรมสุราษฎร์เป็นโรงเรียนหนึ่งในเครือโรงเรียนยินดีวิทย์ซึ่งมี นางยินดี สุขสด เป็นประธานโรงเรียนในเครือ
โรงเรียนในเครือจำนวน ๔ โรงเรียนดังนี้
๑.โรงเรียนยินดีวิทย์ ที่ตั้งเลขที่ ๒๐๓ หมู่ที่ ๑ เมืองใหม่บางพลี ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง อำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เปิดสอนระดับชั้นเตรียมอนุบาล ถึงมัธยมปีที่ ๓ จัดตั้งเมื่อปีการศึกษา ๒๕๒๙ ปัจจุบันมีนักเรียน ๑,๓๒๘ คน
๒.โรงเรียนอนุบาลยินดีวิทย์ ที่ตั้ง เคหะชุมชนเมืองใหม่บางพลี วาระ ๒ ถนนเทพารักษ์ ตำบลบางเสาธง กิ่งอำเภอบางเสาธง จังหวัดสมุทรปราการ เปิดสอนระดับชั้นเตรียมอนุบาล - อนุบาลปีที่ ๓ จัดตั้งเมื่อปีการศึกษา ๒๕๓๙ ปัจจุบันมีนักเรียน ๒๕๐ คน
๓.โรงเรียนธีราศรมพุนพิน ที่ตั้ง ๘๐ ซ.ต้นโพธิ์ ต.ท่าข้าม อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี เปิดสอนระดับชั้นเตรียมอนุบาล ถึงมัธยมศึกษาปีที่ ๓ จัดตั้งเมื่อปีการศึกษา ๒๔๙๓ ปัจจุบันมีนักเรียน ๑,๓๑๖ คน
๔.โรงเรียนธีราศรมสุราษฎร์
     โรงเรียนธีราศรมสุราษฎร์มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๗ งาน ๙๓ ตารางวา ด้านหน้าติดถนนศรีวิชัย ด้านหลังติดคลองท่ากูบ มีอาคารเรียนและอาคารประกอบ ๓ อาคาร
อาคาร ๑ เป็นอาคาร คสล. ๓ ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยห้องธุรการ ห้องผู้บริหาร ห้องเรียนระดับอนุบาล และห้องบอล ส่วนชั้นที่ ๒ - ๓ ประกอบด้วยห้องเรียนชั้นละ ๖ ห้อง
อาคาร ๒ เป็นอาคาร คสล. ๔ ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วย โรงอาหาร ห้องเตรียมอาหาร ร้านค้า ชั้นที่ ๒ ประกอบด้วยห้อง  E – Class ห้องPresent station ชั้นที่ ๓ ประกอบด้วยห้องเรียน ๖ห้อง ชั้นที่ ๔ ประกอบด้วยห้องเรียน ๔ห้อง และห้องวิทยาศาสตร์
อาคาร ๓ เป็นอาคาร คสล. ๕ ชั้น ชั้นล่างประกอบด้วยหอการแสดง ห้องดนตรี ห้องเครื่องเสียง ห้องปฏิบัติการ ห้องพยาบาล ชั้นที่ ๒ประกอบด้วย ห้อง E.P.Movie ห้องวิชาการ หอประชุม หอสมุด ชั้น๓ประกอบด้วยห้องเรียน๕ห้อง และห้องพักครูต่างชาติ ชั้น ๔-๕ประกอบด้วยห้องเรียน๑๒ห้อง และห้องน้ำชาย-หญิง
   โรงเรียนธีราศรมสุราษฎร์ได้มีการจัดตกแต่งบริเวณโดยรอบเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ให้กับนักเรียนอาทิ เช่น สวนไม้ดอกไม้ประดับ สวนปาล์ม สนามเด็กเล่นใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ สวนสมุนไพร พืชผักสวน
ครัว สวนดอกไม้ในวรรณคดี บ่อเลี้ยงปลาดุกปลาสวยงาม สวนกลุ่มสาระ ลานกีฬากลางแจ้ง สนามหญ้าขนาดใหญ่ และสระว่ายน้ำ
  นอกจากนี้ยังมีห้องประกอบต่างๆได้แก่ ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยคอมพิวเตอร์จำนวน ๑๐๗ เครื่อง โดยวางระบบเครือข่าย (LAN SYSTEM) เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องกับเครื่องแม่ข่าย ติดตั้งอินเตอร์เน็ตทุกเครื่อง ห้องสมุดมีหนังสือประเภทต่างๆที่เหมาะกับวัยของเด็ก มีมุมทีวี -วีซีดี เพื่อเป็นสื่อประกอบการเรียนการสอนของครู นอกจากนี้บริเวณโรงเรียน ยังมีของเล่นในร่มและที่นั่งพักคอยของผู้ปกครองอีกด้วย
     เปิดสอน MiniEnglish Program ตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านภาษา การพูด การฟัง และการนำทักษะไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน

อ้างอิง โรงเรียนธีราศรมสุราษฏร์

Information Suratpittaya




 Suratpittaya Index 



Credit : http://www.srp.ac.th/

ประวัติโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา
โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา เดิมชื่อโรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี ก่อตั้งเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2482 เป็นโรงเรียนสตรีประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี ขณะนั้นตั้งติดกับโรงเรียนประจำจังหวัดชาย (โรงเรียนสุราษฎร์ธานี) ต่อมาในปี พ.ศ.2510 กรมสามัญศึกษาได้อนุญาตให้โรงเรียนสุราษฎร์ธานี ย้ายไปอยู่สถานที่แห่งใหม่ และมอบสถานที่เดิมให้โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2521 โรงเรียนสตรีสุราษฎร์ธานี ได้รับอนุมัติให้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา" ให้จัดการศึกษาแบบสหศึกษา ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย
ปัจจุบันโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา ตั้งอยู่เลขที่ 388 ถนนตลาดใหม่ ตำบลตลาด อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี รหัสไปรษณีย์ 84000 โทรศัพท์ 0-7727-5860-1 โทรสาร 0-7728-6727 อีเมล์ suratpit@srp.ac.th เว็บไซต์ www.srp.ac.th สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

ชื่อสถานศึกษา : โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา (Suratpittaya School)
ตราสัญลักษณ์ : ลายเส้นรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ล้อมรอบด้วยเส้นวงกลมสองเส้นคู่ขนาน เปรียบเสมือนชีวิตและการศึกษา ที่ต้องเป็นคู่กันไปโดยมีสายใยเชื่อมโยงไปสู่ศาสนา ที่ให้คุณธรรมและจริยธรรมแก่ชีวิต ด้านล่างมีข้อความ "สุทฺธิ ปญฺญา เมตฺตา ขนฺติ" และชื่อโรงเรียน "สุราษฎร์พิทยา"


พระพุทธรูปประจำโรงเรียน :พระพุทธรูปปางลีลา
อักษรย่อโรงเรียน : ส.ร.
เพลงประจำโรงเรียน : ชื่อ “เพลงมาร์ชสุราษฎร์พิทยา”


สีประจำโรงเรียน : คือสีน้ำเงิน - เหลือง

คำขวัญโรงเรียน (Slogan)
ประพฤติดี มีน้ำใจ ใฝ่การเรียน เพียรทำประโยชน์
(Good Behavior Active Caring Lifelong Learning and Co-operation)

ปรัชญาโรงเรียน(Motto)

สุทธิ ปัญญา เมตตา ขันติ
(Pure Wise Generous and Patient)
ความหมาย
สุทธิ หมายถึง การมีจิตใจสะอาด บริสุทธิ์ ไม่ด่างพร้อย ปฏิบัติตนอยู่ในกรอบ กฎเกณฑ์ และระเบียบแบบแผนของสังคม
ปัญญา หมายถึง ความฉลาดอันเกิดจากการเรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา
เมตตา หมายถึง การมอบความรักและความปรารถนาดีให้ผู้อื่นมีความสุข
ขันติ หมายถึง การมีความอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่ไม่พอใจ
วัฒนธรรมขององค์กร
วัฒนธรรมของโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา คือ
1. มีการกระจายอำนาจ
2. ทำงานแบบมีส่วนร่วม
3. คำนึงถึงความพึงพอใจของผู้เกี่ยวข้อง
4. ทำงานตามสายบังคับบัญชาตามที่กฎหมายกำหนด
5. ความมีระเบียบวินัย อ่อนน้อม ถ่อมตน มีน้ำใจเป็นหนึ่งเดียวกัน
ค่านิยม
ค่านิยมของโรงเรียนสุราษฎร์พิทยา คือ
1. ตรงต่อเวลา
2. ทำงานอย่างมีระบบ
3. ร่วมมือกันทำงาน
4. ปฏิบัติงานเต็มความสามารถ และตรวจสอบได้
5. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง

Information Suratthani School




โรงเรียนสุราษฎร์ธานี มักจะเรียกกันด้วยชื่อสั้น ๆ ว่า "โรงเรียนจังหวัด" ใช้อักษรย่อ "ส.ธ." ก่อตั้งชั้นในปีพ.ศ. 2450 ณ.บริเวณวัดธรรมบูชา ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานีในปัจจุบัน โดยในระยะแรกใช้อักษรย่อว่าส.ฎ.1 โดยตราบถึงปัจจุบันได้แบ่งเป็นสามยุค คือยุคดอนเลียบ ยุคดอนครูรุ่ง และยุคดอนนกในปัจจุบัน โดยหลังจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่6) ได้โปรดเกล้าให้เปลี่ยนชื่อ เมืองไชยา เป็น สุราษฎร์ธานี และ เปลี่ยนชือมณฑลชุมพร เป็น มณฑลสุราษฎร์ธานี พ.ศ. 2485 ได้ใช้ชื่อโรงเรียนว่าโรงเรียนตัวอย่างมณฑลสุราษฎร์ธานี และใน พ.ศ. 2469 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนประจำจังหวัดสุราษฎร์ธานี
อักษรย่อ ส.ธ./ ST
คติพจน์ นิมิตตํ สาธุรูปานํ กตญญู กตเวทิตา ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี
สัญลักษณ์ เสือ
ตราประจำ พระบรมธาตุไชยาลอยอยู่เหนือเมฆ ช้างสามเศียร ดวงประทีป เอราวัณทรงเครื่อง ล้อมรอบด้วยคติพจน์
สีประจำ ชมพู-เขียว
ต้นไม้ กัลปพฤกษ์
คำขวัญ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี เกียรติศักดิ์ศรีเป็นหนึ่ง
เพลง เพลงประจำโรงเรียนสุราษฎร์ธานี (กตัญญูกตเวที) , เพลงมาร์ชโรงเรียนสุราษฎร์ธานี, มาร์ชชมพูเขียว-ใต้ร่มธง-มาร์ช

อ้างอิง โรงเรียนสุราษฏร์ธานี